วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

สื่อและแหล่งการเรียนรู้

สื่อและแหล่งการเรียนรู้
ความหมายของสื่อการเรียนรู้ คำว่า "สื่อ" (Media) เป็นคำที่มาจากภาษาละตินว่า "medium"แปลว่า "ระหว่าง" หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่บรรจุข้อมูลเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถสื่อสารกันได้ตรงตามวัตถุประสงค์ เมื่อมีการนำสื่อมาใช้ในกระบวนการเรียน การสอนก็เรียกสื่อนั้นว่า"สื่อการเรียนการสอน"(Instruction Media) หมายถึง สื่อชนิดใดก็ตามที่บรรจุเนื้อหา หรือสาระการเรียนรู้ซึ่งผู้สอนและผู้เรียนใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้เนื้อหา หรือ สาระนั้น ๆการเรียนการสอนในภาพลักษณ์เดิม ๆ มักจะเป็นการถ่ายทอดสาระความรู้จากผู้สอนไปยังผู้เรียน โดยใช้สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ทักษะ และประสบการณ์ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่าการเรียนรู้ไม่ได้จำกัด อยู่ เฉพาะในห้องเรียน หรือในโรงเรียน ผู้สอนและผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากสื่อต่าง ๆ อย่างหลากหลาย สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ สื่อที่นำมาใช้เพื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงเรียกว่า "สื่อการเรียนรู้" ซึ่งหมายถึงทุกสิ่ง ทุกอย่างที่มีอยู่รอบตัวไม่ว่าจะเป็นวัสดุ ของจริง บุคคล สถานที่ เหตุการณ์ หรือความคิดก็ตาม ถือเป็นสื่อการเรียนรู้ทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับว่าเราเรียนรู้จากสิ่งนั้น ๆ หรือนำสิ่งนั้น ๆ ข้ามาสู่การเรียนรู้ของเราหรือไม่
การจำแนกประเภทของสื่อการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้สามารถจำแนกออกตามลักษณะได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. สื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึง หนังสือและเอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่แสดงหรือเรียบเรียงสาระความรู้ต่าง ๆ โดยใช้ตัว หนังสือที่เป็นตัวเขียนหรือตัวพิมพ์เป็นสื่อในการแสดงความหมาย สื่อสิ่งพิมพ์มีหลายชนิด ได้แก่ เอกสาร หนังสือเรียน หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร บันทึกรายงาน ฯลฯ
2. สื่อเทคโนโลยี หมายถึง สื่อการเรียนรู้ที่ผลิตขึ้นใช้ควบคู่กับเครื่องมือโสตทัศนวัสดุหรือเครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น แถบบันทึกภาพพร้อมเสียง (วิดีทัศน์) แถบบันทึกเสียง ภาพนิ่ง สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นอกจากนี้สื่อเทคโนโลยี ยังหมายรวมถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ใน กระบวนการเรียนรู้ เช่น การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมเป็นต้น
3. สื่ออื่น ๆ นอกเหนือจากสื่อ 2 ประเภทที่กล่าวไปแล้ว ยังมีสื่ออื่น ๆ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งมี ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อเทคโนโลยีสื่อที่กล่าวนี้ ได้แก่ บุคคล ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กิจกรรม / กระบวนการ วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์คุณค่าของสื่อการเรียนการสอนการเรียนการสอน
1.สื่อการเรียนการสอนสามารถเอาชนะข้อจำกัดเรื่องความแตกต่างกันของประสบการณ์ดั้งเดิมของผู้เรียนคือเมื่อใช้สื่อการเรียนการสอนแล้วจะช่วยให้เด็กซึ่งมีประสบการณ์เดิมต่างกันเข้าใจได้ใกล้เคียงกัน
2.ขจัดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสถานที่ ประสบการณ์ตรงบางอย่าง หรือการเรียนรู้
3.ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมและสังคม
4.สื่อการเรียนการสอนทำให้เด็กมีความคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน
5.ทำให้เด็กมีมโนภาพเริ่มแรกอย่างถูกต้องและสมบูรณ์
6.ทำให้เด็กมีความสนใจและต้องการเรียนในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น เช่นการอ่านความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ทัศนคติ การแก้ปัญหา ฯลฯ
7.เป็นการสร้างแรงจูงใจและเร้าความสนใจ
8.ช่วยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จากรูปธรรมสู่นามธรรมสื่อการเรียนการสอนมีประโยชน์สำหรับครูผู้สอนอย่างไร
สื่อการเรียนการสอนสามรถช่วยการเรียนการสอนของครูได้ดีมากซึ่งเราจะเห็นว่าครูนั้นสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้มากทีเดียว แถมยังช่วยให้ครูมีความรู้มากขึ้น ในการจัดแหล่งวิทยาการที่เป็นเนื้อหาเหมาะสมแก่การเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายในการสอนช่วยครู ในด้านการคุมพฤติกรรมการเรียนรู้ และสามารถสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนได้มากทีเดียว สื่อการสอนจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมหลายๆรูปแบบ เช่น การใช้ศูนย์การเรียน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การสาธิต การแสดงนาฏการ เป็นต้น ช่วยให้ครูผู้สอนได้สอนตรงตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน และยังช่วยในการขยายเนื้อหาที่เรียนทำให้การสอนง่ายขึ้น และยังจะช่วยประหยัดเวลาในการสอน นักเรียนจะได้มีเวลาในการทำกิจกรรมการเรียนมากขึ้นจากข้อมูลเราจะได้เห็นถึงประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน ซึ่งทำให้เรามองเห็นถึงความสำคัญของสื่อสารมีประโยชน์และมีความจำเป็นสามารถช่วยพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพที่มา : http://www.bmaeducation.in.th/content_view.aspx?con=944

แหล่งการเรียนรู้
หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศและประสบการณ์ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียนใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ที่มา : http://km.cmarea3.go.th/modules.php?name=News&file=prin

การรับรู้ การเรียนรู้ และการสื่อความหมาย

การรับรู้ การเรียนรู้ และการสื่อความหมาย
การรับรู้

ผู้แต่ง / ผู้เรียบเรียง : ฟรานเชสกา เบนส์ (โชคชัย ยะชูศรี : แปล) เรารู้จักโลกรอบตัวเราได้ก็เพราะว่าร่างกายของเรามีการรับรู้ การรับรู้หลัก ๆ มี 5 ทาง คือ รู้สัมผัส รู้กลิ่น รู้รส การได้ยิน และการมองเห็นการรับรู้เหล่านี้จัดเป็นระบบรับความรู้สึกภายนอกเพราะจะบอกถึงโลกที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรายังมีระบบการรับรู้ความรู้สึกภายในด้วย ซึ่งจะช่วยบอกถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในร่างกายของเราเอง อวัยวะรับรู้ภายนอกส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณศีรษะ เช่น ตา หู จมูก และลิ้น ส่วนตัวตรวจวัดการรู้สัมผัสจะอยู่บริเวณผิวหนัง อวัยวะแต่ละส่วนเหล่านี้จะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงรอบ ๆ ตัวเราซึ่งเรียกว่า ตัวกระตุ้น ตัวกระตุ้นอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงแสง เสียง หรือรสชาติของอาหาร ตัวกระตุ้นหรือตัวเร้าทำให้ตัวตรวจวัดส่งสัญญาณต่าง ๆ ไปที่สมอง สมองจะจำแนกสัญญาณเหล่านี้ออกเป็นอะไรบางอย่างที่เรารับรู้และเข้าใจได้ เช่น ภาพ เสียง หรือรสชาติ ข้อมูลข่าวสารที่ส่งมาจากการรับรู้ต่าง ๆ เป็นสิ่งที่สำคัญเพราะจะช่วยให้เราสามารถป้องกันตัวเองและมีความสุขกับโลกของการมองเห็น การได้ยินการรับรู้รสชาติ และการได้กลิ่นที่มา : http://www.twp.co.th/shopping/preview.asp?BookCode=31051000การเรียนรู้(Learning) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปจากเดิม อันเป็นผลมาจากการได้รับประสบการณ์พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงในที่นี้มิหมายพึงเฉพาะพฤติกรรมเฉพาะทางกายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพฤติกรรมทั้งมวลที่มนุษย์แสดงออกมาได้ ซึ่งจะแยกได้เป็น 2 ด้านคือ 1. พฤติกรรมทางสมอง

2. พฤติกรรมด้านทักษะ

ที่มา : http://www.rec.mbu.ac.th/theeraphat/techno&inno/report/16/ks_g2edu.ppt#312,8,

การเรียนรู้

หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ค่อนข้างถาวร และพฤติกรรมใหม่นี้เป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกฝน มิใช่ ผลจากการตอบสนองจากธรรมชาติ สัญชาตญาณ อุบัติเหตุ หรือความบังเอิญ กระบวนการเรียนรู้ เป็นกระบวนการต่อเนื่องเชื่อมโยงจากการรับรู้ กล่าวคือ เมื่อประสาทสัมผัสกระทบสิ่งเร้าและเกิดความรู้สึกส่งไปยังสมอง สมองบันทึกความรู้สึกนั้นไว้เป็นประสบการณ์และเมื่ออวัยวะรับสัมผัสกระทบกับสิ่งเร้าเดิมอีก สามารถระลึกได้ (Recall) หรือจำได้ (Recognition) ก็ถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้นการเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการที่บุคคลเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างค่อนข้างถาวร อันเนื่องมาจากประสบการณ์หรือการฝึกหัดที่มา : http://learners.in.th/blog/rawan/110206การเรียนรู้และการสื่อความหมาย การถ่ายทอดความรู้ความคิดต่างๆแก่บุคคลหรือกลุ่มคนซึ่งมีจิตใจอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดมีความสามารถในการรับรู้หรือเรียนรู้ไม่คงที่แน่นอนในการเรียนการสอนจึงจำเป็นต้องใช้ให้สอดคล้องกับปัจจัยทางธรรมชาติของมนุษย์กล่าวโดยสรุป การเรียนรู้ เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากเดิม อันสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ของแต่ละบุคคลที่ได้รับมา โดยที่การเรียนรู้นั้นจะเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตหลักการของทฤษฎีสิ่งเร้าและการตอบสนอง

1. การเสริมแรงเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการตอบสนอง

2. การฝึกฝนได้แก่ การให้ทำแบบฝึกหัดหรือการฝึกซ้ำ

3. การรู้ผลการกระทำได้แก่ การที่สามารถให้ผู้เรียนได้รู้ผลการปฏิบัติได้ทันที

4. การสรุปเป็นกฎเกณฑ์

5. การแยกแยะได้แก่ การจัดประสบการณ์ที่ผู้เรียนสามารถแยกแยะความแตกต่างของข้อมูลได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

6. ความใกล้ชิดได้แก่ การสอนที่คำนึงถึงความใกล้ชิดระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้

1. ห้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนอย่างกระฉับกระเฉง

2. ให้ทราบผลย้อนกลับทันที

3. ให้ได้ประสบการณ์แห่งการสำเร็จ

4. การให้เรียนไปทีละน้อยตามอันดับขั้นหลักการและแนวคิดที่สำคัญของการจูงใจ

1.การจูงใจเป็นเครื่องมือสำคัญที่ผลักดันให้บุคคลปฏิบัติกระตือรือร้น

2.ความต้องการทางกาย อารมณ์และสังคม

3.การเลือกสื่อและกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน

4.การจูงใจขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพของผู้เรียน

5.ผู้สอนควรจะพิจารณาสิ่งล้อใจหรือรางวัลหลักการและแนวคิดที่สำคัญของการถ่ายโยงการเรียนรู้

1.การถ่ายโยงควรจะต้องปลูกฝังความรู้ความคิดเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ต่างๆ

2.ผู้สอนควรใช้วิธีแก้ปัญหาหรือวิธีการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและเกิดทักษะอย่างกว้างขวาง

3.การถ่ายโยงจะเกี่ยวข้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล

4.การถ่ายโยงที่อาศัยสถานการณ์ที่สัมพันธ์กันระหว่างสถานการณ์เดิมและสถานการณ์ใหม่

ที่มา : http://www.rec.mbu.ac.th/theeraphat/techno&inno/report/16/re_g2a.ppt

การสื่อสาร หรือ การสื่อความหมาย (Communication)

ความหมายโดยสรุป การสื่อสารหรือ การสื่อความหมาย เป็นการที่ผู้ส่งซึ่งเป็นบุคคลกลุ่มชน หรือสถาบัน ถ่ายทอดเรื่องราวข่าวสาร ข้อมูล ความรู้แนวความคิด เหตุการณ์ต่าง ๆ ฯลฯ โดยอาศัยสื่อหรือช่องทางในการถ่ายทอดไปยังผู้รับซึ่งเป็นบุคคล กลุ่มชน หรือสถาบัน เพื่อให้ผู้รับได้รับทราบข่าวสารร่วมกัน 1. ผู้ส่ง ผู้สื่อสาร หรือต้นแหล่งของการส่ง (Sender, Communicatior or Source)เป็นแหลหรือผู้ที่นำข่าวสารเรื่องราว แนวความคิด ความรู้ ตลอดจนเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อส่งไปยังผู้รับซึ่งอาจเป็นบุคคลหรือกลุ่มชนก็ได้ ผู้ส่งนี้จะเป็นบุคคลเพียงคนเดียวกลุ่มบุคคลหรือสถาบัน โดยอยู่ในลักษณะต่าง ๆ ได้หลายอย่าง2. เนื้อหาเรื่องราว (Message) ได้แก่ เนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ส่งออกมา เช่น ความรู้ความคิด ข่าวสาร บทเพลง ข้อเขียน ภาพ ฯลฯเพื่อให้ผู้รับรับข้อมูลเหล่านี้3. สื่อหรือช่องทางในการนำสาร (Media or Channel) หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดแนวความคิดเหตุการณ์ เรื่อราวต่าง ๆ ที่ผู้ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ4. ผู้รับหรือกลุ่มเป้าหมาย (Receiver or Target Audience) ได้แก่ ผู้รับเนื้อหาเรื่องราวจากแหล่งหรือที่ผู้ส่งส่งมาผู้รับนี้อาจเป็นบุคคล กลุ่มชน หรือสถาบันก็ได้5. ผล (Effect) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ส่งส่งเรื่องราวไปยังผู้รับ ผลที่เกิดขึ้นคือการที่ผู้รับอาจมีความเข้าใจหรือไม่รู้เรื่อง ยอมรับหรือปฏิเสธ พอใจหรือโกรธ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นผลของการสื่อสาร และจะเป็นผลสืบเนื่องต่อไปว่าการสื่อสารนั้นจะสามารถบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับทัศนคติของผู้รับ สื่อที่ใช้ และสถานการณ์ในการสื่อสารเป็นสำคัญด้วย6. ปฏิกริยาสนองกลับ (Feedback) เป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องจากผลซึ่งผู้รับส่งกลับมายังผู้ส่งโดยผู้รับอาจแสดงอาการให้เห็น เช่น ง่วงนอน ปรบมือ ยิ้ม พยักหน้า การพูดโต้ตอบหรือการแสดงความคิดเห็น เพื่อเป็นข้อมูลที่ทำให้ผู้ส่งทราบว่า ผู้รับมีความพอใจหรือมีความเข้าใจในความหมายที่ส่งไปหรือไม่ปฏิกริยาสนองกลับนี้คือข้อมูลย้อนกลับอันเกิดจากการตอบสนองของผู้รับที่ส่งกลับไปยังผู้ส่งนั่นเองรูปแบบของการสื่อสาร ที่มา : http://vdo.kku.ac.th/mediacenter/mediacenter-uploads/libs

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

กระผมนายชิดชัย ทองโบราณ

สรุปการบรรยายพิเศษ เรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง"

สรุปปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
แนวคิดหลักเป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชน
ในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา
และบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ
เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์
เป้าหมาย
มุ่งให้เกิดความสมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและ
กว้างขวาง ทั้งทางวัตถุ สังคมและสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอก
ได้เป็นอย่างดี
หลักการ
ความพอเพียง หมายถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่
ดีในตัวพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภาย
นอกและภายใน
เงื่อนไขพื้นฐาน (ความรู้คู่คุณธรรม)
1.จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการ
นำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน
2. การเสริมสร้างจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี
และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้
มีความรอบรู้ที่เหมาะสม

สรุปการบรรยายพิเศษ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง”
เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา (ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล) ได้ให้เกียรติมาบรรยาย
พิเศษเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” ให้สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสัง
คมแห่งชาติรับฟัง ดังนี้ ประเด็นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมีฐานแนวคิดที่สะ
ท้อนมาจากผลการพัฒนาของประเทศไทยตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันและสถาน
การณ์โลกที่มีการเปลี่ยนแปลงมากในระยะเวลาอันรวดเร็ว อาจกล่าว
ได้ว่าเวลานี้ระบบเศรษฐกิจโลกเหลือเพียงขั้วเดียวคือขั้วเสรีนิยมหรือทุนนิยม
หรือบริโภคนิยม ซึ่งในโลกทุนนิยมนี้ประเทศต่างๆ มุ่งแสวงหาความเจริญเติบ
โตทางด้านเศรษฐกิจเป็นที่ตั้ง และลักษณะสำคัญคือ แสวงหาความร่ำรวยจาก
การลงทุน การบริโภคถือเป็นทฤษฎีหลักของระบบทุนนิยม ถ้าปราศจากจุดนี้
แล้วถือว่าเจริญไม่ได้ เพราะฉะนั้น จึงเกิดภาวะของการแข่งขันกันอย่างรุนแรง
และมีการกระตุ้นให้เกิดการบริโภคอยู่ตลอดเวลา โดยการกระตุ้นกิเลส ทำให้เกิด
การอยาก ซึ่งจะทำให้ระบบนี้อยู่ได้อย่างไรก็ตามสินค้าที่นำมาบริโภคทุกอย่าง
ต้องผลิตมาจากวัตถุดิบที่มาจากทรัพยากรธรรมชาติที่นำมาแปรรูปเพื่อให้ใช้งานได้
ขณะเดียวกันเมื่อมีการบริโภคก็ก่อให้เกิดของเสียออกมาในปริมาณเกือบจะ
เท่ากัน ฉะนั้นโลกจะต้องรับภาระอย่างมาก คือจะต้องป้อนวัตถุดิบเพื่อการบริโภค
และหลังจากนั้นต้องแบกรับภาระขยะของเสียที่มาจากการบริโภค โดยที่การจัดการ
เรื่องกำจัดขยะเสียยังทำได้น้อยมาก การนำกลับมาใช้ใหม่มีแค่ 19 % ยิ่งเวลานี้มี
การอำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภคจะเห็นว่าสินค้าประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งมีจำ
นวนมาก ปัญหาคือทรัพยากรธรรมชาติจะแบกรับไหวหรือไม่ คำตอบก็คือไม่ไหว
เพราะเวลานี้ทั่วโลกมีการบริโภคในอัตรา 3 : 1 คือทรัพยากรธรรมชาติถูกบริโภค
ไป 3 ส่วน แต่สามารถชดเชยกลับมาได้เพียง 1 ส่วน ซึ่งถ้ายังคงมีการบริโภคกัน
ในอัตรานี้ต่อไปก็จะต้องพบกับปัญหาในที่สุด อย่างไรก็ตามได้เริ่มมีกระแสของกลุ่ม
คนที่มีปัญญาเกิดขึ้น เพราะเริ่มมองเห็นถึงภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อสภาวะโลกปัจ
จุบันในประเทศไทยตั้งแต่มีแผนพัฒนาฉบับแรก ใน ปี 2505 ประเทศไทยได้มี
การพัฒนาตามรูปแบบของทุนนิยมเช่น กันเพราะในตอนที่คิดจะทำแผนพัฒนาฯ
ได้มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศเข้ามาสอน วิชาการวางแผนให้ โดยมีการนำ
เอาปรัชญาการวางแผนแบบตะวันตกเข้ามาด้วยคือมุ่งสร้างความร่ำรวยทางด้าน
เศรษฐกิจอย่างเดียว ซึ่งประเทศไทยก็ได้มีการพัฒนาให้เจริญเติบโตขึ้นจริง แต่เป็น
ความเจริญเติบโตที่สร้างและแลกกับการต้องสูญเสียป่าไม้ และทรัพยากรธรรมชาติที่
ถูกทำลายล้างไปเป็นจำนวนมากจะเห็นว่าความเจริญเติบโต ซึ่งได้ดำเนินมา ตั้งแต่ปี
2505 บัดนี้ มีเหตุการณ์หนึ่งที่ก่อให้เกิดวิกฤตต่อเศรษฐกิจของประเทศ คือโตแล้ว
แตกเป็นสัจธรรม อย่างหนึ่งคือ เมื่อเศรษฐกิจโตมากขึ้น ในที่สุดก็จะแตกออก และก็
จะมาเริ่มต้นกันใหม่ อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการมองหาว่าอะไรคือสาเหตุของวิกฤต
การณ์ฟองสบู่แตกครั้งนั้นจะพบว่าเป็นเพราะการเติบโตของไทยอยู่บนฐานที่ยังไม่
มีความพร้อม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
ว่าการพัฒนา บ้านเมืองเหมือนการสร้างบ้านเวลาที่มีการสร้างบ้านสิ่งแรกที่ต้อง
ทำคือ ต้องวางฐานรากฝังเสาเข็ม และเสาเข็มแต่ละต้นจะถูกคำนวณมาแล้ว
ว่าต้อง แบกน้ำหนักเท่าใดแล้วจึงสร้างบ้าน แน่นอนว่าถ้าเสาเข็มวางไว้สำหรับ
บ้านสองชั้นก็จะแบกรับได้แค่บ้านสองชั้นเท่านั้น การพัฒนาประเทศก็เช่นกันแต่
ที่ผ่านมาประเทศไทยเหมือนการย่างก้าวเข้าสู่การพัฒนาโดยที่ไม่ได้คำนึงถึง
ฐานรากของประเทศ ซึ่งน่าจะมีฐานในภาคการเกษตรแต่กลับมุ่งไปสู่การเป็น
ประเทศอุตสาหกรรมที่มีความต้องการปัจจัยสำคัญ 3 เรื่อง คือ 1) เงิน ซึ่ง
ประเทศไทยอาจมีไม่พอก็ไปกู้มาเพิ่ม 2) เทคโนโลยี ซึ่งประเทศไทยไม่เคย
สร้างอะไรขึ้นมาเองก็จะนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมาใช้ และ 3) คน
ซึ่งมาตรฐานการศึกษาของไทยต่ำลง มหาวิทยาลัยมากขึ้นแต่คุณภาพลดลง
แต่ถ้าคนที่รู้ด้านการในประเทศไม่มีก็ไม่เป็นไรอีกก็จ้างต่างชาติเข้ามา จะเห็น
ว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยตั้งอยู่บนฐานของคนอื่นทั้งสิ้น
และเมื่อมีการก็ย้ายฐานการลงทุนออกไปเศรษฐกิจก็ล้มในที่สุด สถานการณ์
นี้เป็นวัฏจักรของการพัฒนาเหมือนกับวัฏจักรเชิงพุทธคือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงยึดหลักการพอดีตั้งแต่แรกโดยให้มีการ
พัฒนาไปตามขั้นตอน เป็นระยะ ๆ เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เศรษฐกิจสำหรับ
คนยากคนจน ไม่ใช่เศรษฐกิจที่จะต้องมาห่อตัว พระองค์ท่านให้ร่ำรวยแต่ร่ำ
รวยแล้วต้องรักษาให้คงอยู่ ร่ำรวยและต้องยั่งยืน และต้องกระจายอย่างทั่ว
ถึงพระองค์ท่านรับสั่งให้คำไว้สามคำเป็นหลักสามประการ และฐานใหญ่ไว้
หนึ่งฐาน เป็นแนวทางของการพัฒนาประเทศ และจะนำไปใช้ในการบริหาร
งานในองค์กรใดๆ ก็ได้ ดังนี้ ประการที่หนึ่ง ให้ใช้เหตุผลอย่าใช้กิเลสตัณ
หาเป็นเครื่องนำทาง อย่าเอาแต่กระแส ต้องมีความกล้าหาญเพียงพอที่จะ
เลือกหนทางว่าประเทศไทยต้องการจะพัฒนา ไปทางไหนไม่จำเป็นต้อง
ตามกระแสของโลก ประการที่สอง ทำอะไรพอประมาณ การพอประมาณ
คือตรวจสอบศักยภาพของตน เองก่อน ฐานของตนเองอยู่ตรงไหน การจะ
พัฒนาอะไรต้องดูจากศักยภาพที่มีความ เข้มแข็งก่อน ประการที่สาม ทำ
อะไรให้มีภูมิคุ้มกันตลอดเวลา เพราะไม่รู้พรุ่งนี้จะมีอะไรเกิดขึ้น ปัจจุบัน
สถานการณ์ต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้การวางแผนพัฒนา
ทำได้ยากมีปัจจัยความเสี่ยงอยู่ตลอดเวลา จึงต้องมีวิสัยทัศน์ ตัวอย่างเช่น
เรื่องราคา น้ำมันต้องมองในอนาคต ถ้านำไบโอดีเซลมาใช้จะช่วยลดความ
เสี่ยงด้านราคาน้ำมัน ได้หรือไม่ เป็นต้น
นอกจากสามคำนี้พระองค์ท่านทรงให้มีฐานรองรับที่สำคัญอีกคำหนึ่งคือ
คนต้องดีด้วย ต้องมีจริยธรรมและคุณธรรม มีธรรมาภิบาล พระองค์ท่านทรงวาง
หลักการไว้ดีมาก แต่ปัญหาเกิดจากยังไม่มีความพยายามที่จะสร้างความเข้าใจกัน
สุดท้าย คงต้องอันเชิญเป้าหมายในการครองแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยู่หัว เมื่อ 60 ปีที่แล้ว ว่าเป้าหมายในการครองแผ่นดินของพระองค์ท่าน คือ
เพื่อประโยชน์ สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ซึ่งคนไทยทุกคนควรยึดคำนี้เป็นที่มั่น
ประโยชน์สุขที่ว่านั้น คือ ไม่ว่าจะมีการสร้างความร่ำรวยหรือการสร้างประโยชน์ใด
ต้องให้นำไปสู่ “ความสุข” ของประชาชนทั้งประเทศเป็นเป้าหมายหลัก
ที่มา : สรุปการบรรยายพิเศษ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง”
โดย เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา (ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล)
วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน 2549 เวลา 13.30 น.
ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

พระราชดำรัส เศรษฐกิจพอเพียง

พระราชดำรัส เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็น ปรัชญา ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมี
พระราชดำรัส ชี้แนะ แนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมานานกว่า
25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ โดยพิจารณาจากพระราชดำรัส
ซึ่งพระราชทานแก่คณะผู้แทนสมาคม องค์การเกี่ยวกับศาสนา ครู นักเรียน
โรงเรียนต่างๆนักศึกษามหาวิทยาลัยในโอกาส เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาวันที่ 4 ธันวาคม
2517 ดังความตอนหนึ่งว่า "...คนอื่นจะว่าอย่างไร ก็ช่างเขาจะว่าเมืองไทยล้า
สมัยว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่ไร พอมีพอกิน และขอ
ให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน มีความสงบและทำงาน
ตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่า
จะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบเปรียบเทียบกับ ประ
เทศอื่นๆ ถ้าเรารักษา ความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้ ประเทศต่างๆ
ในโลกนี้กำลังตก กำลังแย่ กำลังยุ่ง เพราะแสวงหาความยิ่งยวด ทั้งในอำนาจ ทั้ง
ในความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ทางอุตสาหกรรม ทางลัทธิ ฉะนั้น ถ้าทุกท่านซึ่ง
ถือว่าเป็นผู้ที่มีความคิดและมีอิทธิพล มีพลังที่จะทำให้ผู้อื่นซึ่งมีความคิดเหมือนกัน
ช่วยกันรักษาส่วนรวมให้อยู่ดีกินดีพอสมควร ขอย้ำ พอควร พออยู่พอกิน มีความ
สงบ ไม่ให้คนอื่นมาแย่งคุณสมบัตินี้จากเราไปได้ก็จะเป็นของขวัญวันเกิดที่ถาวร
ที่จะมีคุณค่าอยู่ตลอดกาล..."และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขวิกฤติ
การณ์ทางเศรษฐกิจ เพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ประกอบกับพระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวาย
ชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดาฯ
พระราชวังดุสิต วันพฤหัสบดี ที่ 4 ธันวาคม 2540 ดังความว่า ?ความจริงเคยพูด
เสมอในที่ประชุมอย่างนี้ว่า "การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจ
แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้นหมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้" ให้มีพอเพียงกับ
ตัวเอง อันนี้ก็เคยบอกว่าความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิต
อาหารของตัว จะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ
จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่ง บางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็
ขายได้ แต่ขาย ในที่ไม่ห่าง ไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก อย่างนี้ท่านนัก
เศรษฐกิจต่างๆ ก็มาบอกว่าล้าสมัยคนอื่นเขาต้อง มีการเศรษฐกิจ ที่ต้องมีการแลกเปลี่ยน
เรียกว่าเป็น เศรษฐกิจการค้าไม่ใช่เศรษฐกิจความพอเพียง เลยรู้สึกว่าไม่หรูหรา แต่เมือง
ไทยเป็นประเทศที่มีบุญอยู่ว่า ผลิตให้พอเพียงได้?"

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชน
ในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา
และบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ
เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ
ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร
ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก และภายใน
ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการ
นำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะ
เดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ
นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต
และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิต ด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา
และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่าง
รวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอก
ได้เป็นอย่างดี
หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง
การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทาง
สายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล
การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม
ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้
1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทาง
ที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประ
ยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด
เวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการ
รอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา
2. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้
ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
3. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กันดังนี้
* ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกิน
ไปโดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่นการผลติ และการบริโภคที่อยู่ในระดับ
พอประมาณ
* ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น
จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึง
ถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
* การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ
และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถาน
การณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล
4. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น
ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
* เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
อย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน
เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
* เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณ
ธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำ
เนินชีวิต
5. แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุก
ด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลย
เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ
เศรษฐกิจพอเพียง และแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำ
ไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเอง ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสียง
เกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยอาศัย
ความพอประมาณ และความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียร และ
ความอดทน สติ และปัญญา ก

การใช้นวัตกรรมการศึกษาด้านต่างๆในประเทศไทย

การใช้นวัตกรรมการศึกษาด้านต่างๆ ในประเทศไทยวิธีระบบ (system approach) สามารถนำมาใช้กับการพัฒนาการเรียนการสอน ซึ่งถือได้ว่า
เป็นการวางแผนการศึกษาอย่างมีระบบ ควรนำวิธีระบบมาใช้เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองให้มาก
โดยจะต้องมีการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอน มีการเรียนแบบระบบเปิดคือเรียนด้วยตนเอง

(self-learning) การเรียนแบบอิสระ (independent learning) โดยทางโรงเรียนมีศูนย์การเรียน
ที่มีสื่อเพียบพร้อมในการเรียน ซึ่ง ณ ที่นั่นมีสื่อการเรียนหลาย ๆ อย่างพร้อมมูล ให้นักเรียน
มาหาความรู้จากศูนย์นี้ได้ดีเท่า ๆ กับไปที่โรงเรียน อาจมีการจัดศูนย์สื่อในหอพักนักเรียน
มุมใดมุมหนึ่งของห้องสมุด หรือมุมของห้องเรียนมุมหนึ่ง
ศูนย์การเรียน (Learning Center) ศูนย์การเรียน Learning Center เป็นระบบของ
การจัดการด้านสถานที่ เครื่องมือและสื่อต่างๆ ที่ได้รับการติดตั้งอย่างเป็นระบบเพื่อการเรียนรู้ ในศูนย์การเรียนควรมีเครื่องมือช่วยการเรียนรู้ทั้งหลายของผู้เรียน ผู้เรียนสามารถยืมสื่อการ
ศึกษาไปเรียนที่บ้าน เช่นเดียวกับการยืมหนังสือ สำหรับพ่อแม่ที่มีความพร้อมในการจัดหาฮาร์ดแวร์
ไว้ใช้ที่บ้านได้ก็ยืมซอฟท์แวร์จากโรงเรียนมาศึกษาเองที่บ้าน คนในบ้านก็มาเรียนรู้ร่วมกันได้ ภายในศูนย์การเรียนอาจมีเครื่องบางอย่างให้ผู้เรียนศึกษาได้ เช่น เครื่องอ่านวัสดุย่อส่วนแบบ
กระเป๋าหิ้ว (Portable Microform Reader) คอมพิวเตอร์ ที่สามารถสืบค้นข้อมูลได้ มีบทเรียน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ไว้สำหรับให้ใช้ศึกษาด้วยตนเอง พร้อมทั้งเครื่องมือโสตทัศนูกรณ์
พวกเครื่องเสียง เครื่องฉายสไลด์แบบมีจอในตัว ซึ่งสามารถใช้ศึกษาสไลด์ประกอบเสียง ฯลฯ

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ คือ คอมพิวเตอร์ที่ช่วยการเรียนขนาดเล็กที่เรียกว่า พ๊อกเก็ตพีซี
(Pocket PC) มีโปรแกรมการเรียนที่ผลิตเป็นแผ่นบันทึกข้อมูลซึ่งทำด้วยแม่เหล็ก (Magnetic
cards) แผ่นเล็ก ๆใส่เข้าไปในช่องได้ง่าย ๆ เด็กก็สามารถเล่นเองได้ และยังสามารถต่อเข้าเครือ
ข่ายอินเทอร์เน็ตได้
การพัฒนาเครือข่ายเพื่อใช้ในศูนย์การเรียน จะมีการใช้โปรแกรมช่วยบริหารจัดการศูนย์ ที่เป็น
ทรัพยากรการเรียน Learning Resources Center ซึ่งประกอบไปด้วยห้องสมุดเสมือน Virtual
Library ที่สามารถเก็บข้อมูลที่เป็นสื่อดิจิตอลมัลติมีเดียทุกประเภท เช่น ไฟล์วิดิโอ ไฟล์เสียง
ไฟล์เอกสาร หรือ กราฟิกประเภทต่างๆ ไว้ในเครื่องแม่ข่าย (File Server) ซึ่งผู้เรียนที่อยู่ใน
หรือนอกศูนย์การเรียนสามารถเข้ามาใช้ Resources ที่มีอยู่ในเครื่องแม่ข่ายได้
ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกกับผู้เรียนไม่ต้องเดินทางไปค้นหาสื่อในที่ต่างๆ ด้วยตนเอง
การจัดศูนย์การเรียนในห้องสมุด ให้ผู้เรียนมาศึกษาบทเรียนจากสื่อต่าง ๆด้วยตนเอง การเปลี่ยนบทบาทของครู ปัจจุบันครูควรลดบทบาทให้เหลือน้อยที่สุด จากการสอนแบบ
บอกให้จด หรือบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เรียน เป็นผู้อำนวยการเรียน (facilitator) เป็นการให้นัก
เรียนเป็นผู้มีบทบาทในการเรียนให้มากที่สุด โดยครูเป็นผู้วางแผนการสอนออกมาเป็นกิจกรรม
การเรียน ให้นักเรียนเรียนเป็นกลุ่ม หรือเรียนด้วยตนเอง การพัฒนาการเรียนการสอนควรยึด
หลักต่อไปนี้คือ
1 ใช้สื่อการสอนอย่างมีระบบ
2 ทำการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเป็นครั้งคราวแก่อาจารย์เพื่อให้มีการพัฒนาตนเอง
3 การเรียนโดยใช้สื่อกับกลุ่มใหญ่ กลุ่มเล็ก หรือเรียนแบบตัวต่อตัว โดยใช้ทีวี วิทยุเทป
คาสเซ็ทท์ หรืออาจใช้วิธีการอื่นๆ
4 มีชุดสื่อช่วยสอนเสริม เป็นบทเรียนด้วยตนเอง เช่นการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
5 การเชิญผู้ชำนาญการประจำท้องถิ่นสาขาต่างๆ มาเป็นวิทยากร หรือให้วิทยากรร่วมเป็น
สมาชิกของคณะครูผู้สอนเรียกว่า การสอนเป็นคณะ
6 เมื่อครูเปลี่ยนบทบาท ครูต้องรู้จักใช้สื่อที่เหมาะสมในการเรียนการสอนด้วย
7 จัดกิจกรรมการเรียนให้เข้ากับหลักสูตร มีห้องเรียนอเนกประสงค์คือห้องเรียนที่ใช้
ได้ทั้งนักเรียนกลุ่มใหญ่และกลุ่มเล็ก หรือใช้เป็นที่เรียนแบบอิสระ ที่โรงเรียนของรัฐ
ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย เมืองซานดิเอโก มีห้องเรียนแบบนี้ ซึ่งใช้ประโยชน์ต่อการศึกษา
เป็นอย่างมาก
สื่อช่วยสอนที่ทันสมัย 1 การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ทั้งในระบบโรงเรียนและนอกโรงเรียน และการศึก
ษาตามอัธยาศัย ตัวอย่างที่ใช้การเรียนการสอนแบบนี้คือ โครงการการศึกษาทางไกลผ่าน
ดาวเทียมไทยคม โรงเรียนไกลกังวล (Distance Education Through Satellite)
ครูกำลังสอนผ่านกล้องในระบบการประชุมทางไกลด้วยภาพ ( Video Conference)
ที่สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
http://www.dltv.th.org
2 เคเบิลทีวีใช้สอนสำหรับการศึกษาทั้งในและนอกระบบโรงเรียน ซึ่งให้ความรู้เรื่อง
ต่างๆ เช่น การสังคมสงเคราะห์ เรื่องข่าวสารการเมืองปัจจุบัน เรื่องความปลอดภัยในครัวเรือน
หรือในที่สาธารณะ สอนเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ กฎหมาย การกินดีอยู่ดี ปัญหาของผู้บริโภค
การจัดโปรแกรมให้เด็กฉลาดและเด็กที่เรียนไม่ทันชั้นเรียน ได้เรียนเสริมด้วยตนเองที่บ้าน
3 วิดีโอดิสก์ Video Disc (Video Disc) เป็นสื่อที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เนื่องจากมีขนาดเล็ก
เก็บรักษาง่ายและให้คุณภาพดี ปัจจุบันมีการผลิต วิดีโอคอมแพคดิสก์- Video Compact Disc
(VCD) ความรู้ต่างๆ ออกมาจำหน่ายอย่างมาก เช่นเรื่องเกี่ยวกับนิทาน ความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์
ประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา ฯลฯ วิดีโอดิสก์นี้มีน้ำหนักเบา ขนย้ายง่าย นิยมใช้กันมาก ในอนาคต
วิดีโอคอมแพคดิสก์ จะเปลี่ยนรูปแบบเป็นแผ่น ดีวีดี Digital Video Disk (DVD) ซึ่งเป็นแผ่น
ขนาดเท่า วิดีโอคอมแพคดิสก์ แต่สามารถบรรจุข้อมูลได้เพิ่มขึ้นเป็นสิบเท่าของแผ่นซีดีวิดีโอในปัจจุบัน
แผ่น VCD เรื่องต่าง ๆ ที่ใช้ในการเรียนการสอน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์
ช่วยสอนมาจากคำว่า Computer-Assisted Instruction (CAI)

ได้มีผู้ให้ความหมายไว้หลายท่านดังนี้ Association for Education Communications and Technology (1994 : 324) ให้ความ
หมายของคำว่า Computer-Assisted Instruction ไว้ดังนี้
1 เทคนิคการเรียนรู้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์
เพื่อการเรียนรู้และจดจำ
2 เทคนิคการเรียนรู้กับคอมพิวเตอร์จะต้องมีการสอนผู้เรียนอย่างจริงจัง และคอมพิวเตอร์
จะต้องมีการบรรจุโปรแกรมช่วยสอน คำแนะนำ การควบคุมและทดสอบผู้เรียนจนกระทั่งได้อยู่
ในระดับที่น่าพอใจ
นักเรียนกำลังใช้ CAI ในห้องเรียน
Stolurow (1971) ได้กล่าวถึงคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสรุปได้ว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เป็นวิธีการของการสอนรายบุคคล โดยอาศัยความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะจัด
เนื้อหาประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์กัน มีการแสดงเนื้อหาตามลำดับที่แตกต่างกันด้วย
บทเรียนโปรแกรมที่เตรียมไว้อย่างเหมาะสม
ยืน ภู่วรวรรณ (2532) ให้ความหมายว่า "คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือโปรแกรมคอม
พิวเตอร์ที่ได้นำเนื้อหาวิชาและลำดับวิธีการสอนมาบันทึกเก็บไว้ คอมพิวเตอร์จะช่วยนำ
บทเรียนที่เตรียมไว้อย่างเป็นระบบมาเสนอในรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนแต่ละคน"
ขนิษฐา ชานนท์ (2532) ให้ความหมายว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง การนำคอม
พิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอน โดยที่เนื้อหาวิชา แบบฝึกหัดและการทดสอบ
จะถูกพัฒนาขึ้นในรูปแบบของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งมักเรียกว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์

Computer Courseware ผู้เรียนจะเรียนบทเรียนจากคอมพิวเตอร์ โดยคอมพิวเตอร์จะสามารถเสนอ
เนื้อหาวิชาซึ่งอาจจะเป็นทั้งในรูปตัวหนังสือและภาพกราฟิกสามารถถามคำถาม
รับคำตอบจากผู้เรียน ตรวจคำตอบ และแสดงผลการเรียนในรูปของข้อมูลย้อนกลับ
(feedback) ให้แก่ผู้เรียน
จากความหมายดังกล่าวอาจสรุปได้ว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นเครื่องมือช่วยครูในการเรียน
การสอน โดยบรรจุเนื้อหาที่จะสอนไว้ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียน
ได้ด้วยตนเอง และมีเทคนิคการสอนที่อยู่บนพื้นฐานของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและ
เครื่องคอมพิวเตอร์
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วารินทร์ รัศมีพรหม (2531 : 192-193) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
พอสรุปได้ดังนี้
1 ผู้เรียนเรียนได้ตามความช้าเร็วของตนเอง ทำให้สามารถควบคุมอัตราเร่งของ
การเรียนได้ด้วยตนเอง
2 การตอบสนองที่รวดเร็วของคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงที่รวดเร็วด้วย
3 อาจจัดทำโปรแกรมให้มีบรรยากาศที่น่าชื่นชม ซึ่งเหมาะสำหรับผู้เรียนที่เรียนช้าได้
4 สามารถเอาเสียงดนตรี สีสัน ภาพเคลื่อนไหว ซึ่งทำให้ดูเหมือนของจริงและยังเร้า
ใจขณะฝึกปฏิบัติ (drill) หรือสถานการณ์จำลองได้เป็นอย่างดี
5 ผู้สอนสามารถควบคุมการเรียนของผู้เรียนได้เพราะคอมพิวเตอร์จะบันทึกการเรียน
ของผู้เรียนแต่ละบุคคลไว้
6 ผู้สอนสามารถควบคุมการเรียนของผู้เรียนได้ เพราะคอมพิวเตอร์จะบันทึกการ
เรียนของผู้เรียน แต่ละบุคคลได้
7 ความใหม่แปลกของคอมพิวเตอร์ จะเพิ่มความสนใจ ความตั้งใจของผู้เรียนมากขึ้น
8 คอมพิวเตอร์ให้การสอนที่เชื่อถือได้แก่ผู้เรียน
9 จะช่วยลดเวลาของครู และลดค่าใช้จ่ายลง และสามารถทำให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประ
สงค์ได้โดยง่าย
ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ช่วยการสอนที่ใช้ในวงการศึกษานั้นมีหลายรูปแบบด้วยกัน รูปแบบ
หลักที่พบเห็นเสมอ ๆ แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภทดังนี้
1 DRILL AND PRACTICE

คอมพิวเตอร์ช่วยการสอนในลักษณะนี้จะเป็นแบบที่พบเห็นมากที่สุดเป็นการช่วย
ให้ผู้เรียนได้ ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนมาแล้ว เพื่อช่วยในการจำเนื้อหาหรือเป็นการฝึกทักษะ
ในสิ่งที่ได้เรียนในห้องเรียน วัตถุประสงค์หลักของ DRILL AND PRACTICE ก็เพื่อ
เสริมแรงในสิ่งที่ได้เรียนแล้ว โดยคอมพิวเตอร์จะเสนอสิ่งเร้าซึ่งอาจจะเป็นในรูปของ
คำถาม ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตอบสนองหรือตอบคำถาม ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตอบสนอง
หรือตอบคำถาม และสามารถให้การเสริมแรง หรือให้ FEEDBACK แก่ผู้เรียนได้ทันที
2 TUTORIALS
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในลักษณะนี้เป็นการสอนสิ่งใหม่ซึ่งผู้เรียนไม่คุ้นเคยมาก่อน
บทเรียนในลักษณะนี้จะเสนอเนื้อหาวิชา ถามคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่เพิ่งเสนอไป
และจากคำตอบของผู้เรียนคอมพิวเตอร์ก็จะ ตัดสินใจว่าผู้เรียนควรจะเรียนเนื้อหาต่อไป
หรือควรจะได้มีการทบทวนเนื้อหาที่เพิ่งเรียนนั้น หรือมีการซ่อมเสริมอย่างไร

ลักษณะ TUTORIAL ที่ดีควรจะเป็นดังนี้ - เนื้อหาหรือมโนทัศน์ที่เสนอควรจะจัดอย่างเป็นระบบระเบียบเพื่อไม่ให้ผู้เรียน
เกิดความสับสน
- กราฟิกและเสียงประกอบสอดคล้องกับเนื้อหาวิชา
- ผู้เรียนสามารถควบคุมจังหวะความเร็วในการเสนอเนื้อหา
- ควรจะมีวิธีในการที่จะบันทึกคะแนนของผู้เรียนไว้เพื่อผู้สอนจะ
ได้สามารถนำมาตรวจสอบความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน และผู้เรียนทั้งชั้นได้
3 INSTRUCTIONAL GAMES
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในลักษณะนี้เป็นการสอนเนื้อหาวิชาในรูปแบบของเกมส์
โดยทั่วไปลักษณะของเกมส์จะมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนเป็นการแข่งขัน เมื่อจบเกมส์แล้วก็
จะมีผู้ชนะและผู้แพ้ เกมส์การสอนมักจะออกแบบเพื่อให้ทั้งความรู้และความบันเทิงแก่ผู้เรียน
เนื่องจากคอมพิวเตอร์สามารถเสนอภาพกราฟิกที่มีสีสวยงามและมีเสียงประกอบได้
จึงทำให้สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
4 SIMULATIONS

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในรูปแบบของ simulations เป็นการจำลองสถานการณ์จริงโดย
คอมพิวเตอร์จะเสนอสถามการณ์ให้แก่ผู้เรียน ให้โอกาสผู้เรียนได้วิเคราะห์ และตัดสิน
ใจจากข้อมูลที่จัดให้เพื่อที่จะทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เนื่องจาก การจำลองสถานะการณ
์มีลักษณะที่ค่อนข้างซับซ้อน ผู้สร้างบทเรียนในลักษณะนี้จะต้องอาคัยการคาดคะเนใน
เรื่องการตอบสนองในรูปแบบต่างๆ จากผู้ใช้บทเรียนและผลที่จะเกิดจากการตอบสนอง
เพื่อนำมาพิจารณาในการสร้างรูปแบบ ดังนั้นจึงต้องใช้เวลามากในการสร้าง และผู้สร้างบทเรียนในลักษณะนี้จะต้องมีทักษะระดับสูงในเรื่องการเขียนโปรแกรม
เพื่อสร้างบทเรียนในลักษณะนี้ SIMULATION แต่ PROBLEM SOLVING
จะเน้นขบวนการคิดในระดับที่สูงกว่าในเรื่องของขบวนการในด้านการใช้เหตุผล
5 PROBLEM SOLVING
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในลักษณะนี้ เป็นการเสนอปัญหาให้แก่ผู้เรียน และผู้เรียนจะต้อง
พยายามที่จะหาวิธีแก้ปัญหานั้น ๆ ลักษณะบทเรียนแบบนี้จะคล้าย ๆ กับ SIMULATIONS
แต่ PROBLEM SOLVING จะเน้นขบวนการคิดในระดับที่สูงกว่าในเรื่องของขบวนการ
ในด้านการใช้เหตุผล

ที่มา : http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php?module=study&chapter=4&sub1=3&sub2=1

ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา

ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับเทคโน
โลยีการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษาไว้หลายมาตรา มาตราที่สำคัญ คือ มาตรา 67
รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทยและ
ในมาตรา 22 "การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียน
รู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษา
ตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริม
ให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ"การดำเนินการปฏิรูป
การศึกษาให้สำเร็จได้ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

ดังกล่าว จำเป็นต้องทำการศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาใหม่ๆที่จะเข้ามาช่วยแก้
ไขปัญหาทางการศึกษาทั้งในรูปแบบของการศึกษาวิจัยการทดลองและการประเมินผลน
วัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่นำมาใช้ว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใดนวัตกรรมที่นำมา
ใช้ทั้งที่ผ่านมาแล้วและที่จะมีในอนาคตมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้นวัตกรรม
ในด้านต่างๆ ในที่นี้จะขอกล่าวคือ นวัตกรรม 5 ประเภท คือ
1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
2. นวัตกรรมการเรียนการสอน
3. นวัตกรรมสื่อการสอน
4. นวัตกรรมการประเมินผล
5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ
นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้อง
กับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้องการสอนบุคคลให้มากขึ้น เนื่องจาก
หลักสูตรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางด้านเทค
โนโลยีเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก นอกจากนี้การพัฒนาหลักสูตร
ยังมีความจำเป็นที่จะต้องอยู่บนฐานของแนวคิดทฤษฎีและปรัชญาทางการจัดการสัมมนา
อีกด้วย การพัฒนาหลักสูตรตามหลักการและวิธีการดังกล่าวต้องอาศัยแนวคิดและวิธีการ
ใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมการศึกษาเข้ามาช่วยเหลือจัดการให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ

นวัตกรรมทางด้านหลักสูตรในประเทศไทย ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรดังต่อไปนี้
1 หลักสูตรบูรณาการ เป็นการบูรณาการส่วนประกอบของหลักสูตรเข้าด้วยกันทางด้านวิทยา
การในสาขาต่างๆ การศึกษาทางด้านจริยธรรมและสังคม โดยมุ่งให้ผู้เรียนเป็นคนดีสามารถ
ใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ในสาขาต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมอย่างมีจริยธรรม
2 หลักสูตรรายบุคคล เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการศึกษาตามอัตภาพ เพื่อตอบ
สนองแนวความคิดในการจัดการศึกษารายบุคคล ซึ่งจะต้องออกแบบระบบเพื่อรองรับความ
ก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านต่างๆ
3 หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้น
กระบวนการในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ เช่น
กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในบทเรียน ประสบการณ์การเรียนรู้จากการสืบค้น
ด้วยตนเอง เป็นต้น
4 หลักสูตรท้องถิ่น เป็นการพัฒนาหลักสูตรที่ต้องการกระจายการบริหารจัดการออกสู่ท้องถิ่น
เพื่อให้สอดคล้องกับศิลปวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชนที่มีอยู่ในแต่ละ
ท้องถิ่น แทนที่หลักสูตรในแบบเดิมที่ใช้วิธีการรวมศูนย์การพัฒนาอยู่ในส่วนกลาง
นวัตกรรมการเรียนการสอน
เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนอง
การเรียนรายบุคคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบ
แก้ปัญหา การพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับ
สนุนการเรียนการสอน ตัวอย่างนวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่ การสอนแบบศูนย์การ
เรียน การใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ การสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน และการเรียนผ่านเครือข่าย
คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต การวิจัยในชั้นเรียน ฯลฯ

ที่มา : http://botany.sci.ku.ac.th/learn/ http://cyberclass.msu.ac.th

นวัตกรรมสื่อการสอน
เนื่องจากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยี
โทรคมนาคม ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิต
สื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย ทั้งการเรียนด้วยตนเองการเรียนเป็นกลุ่มและ
การเรียนแบบมวลชน ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรม ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ตัวอย่าง นวัตกรรมสื่อการสอน ได้แก่
- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
- มัลติมีเดีย (Multimedia)
- การประชุมทางไกล (Teleconference)
- ชุดการสอน (Instructional Module)
- วีดิทัศน์แบบมีปฎิสัมพันธ์ (Interactive Video)
การเรียนการสอนโดยใช้สื่อประสม กับผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อย
http://www.geun.net/
http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/it1.htm
http://www.thaiedunet.com/multimedia/
http://www.colorado.edu/physics/2000/applets_ST.html

นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล
เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำ
ได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา การวิจัยสถาบัน ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรม
คอมพิวเตอร์มาสนับสนุนการวัดผล ประเมินผลของสถานศึกษา ครู อาจารย์

ตัวอย่าง นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล ได้แก่
- การพัฒนาคลังข้อสอบ
- การลงทะเบียนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต
- การใช้บัตรสมาร์ทการ์ด เพื่อการใช้บริการของสถาบันศึกษา
- การใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดเกรด
- ฯลฯ
ที่มา: http://www.thaigoodview.com/main/index.html

นวัตกรรมทางด้านการประเมินผลนับเป็นเรื่องที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีเหมือนบาง
สถาบันการศึกษาเท่านั้นที่สามารถให้บริการได้ เนื่องจากบางสถาบันยังไม่มีความพร้อมด้าน
อุปกรณ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ และขาดบุคลากรที่มีความชำนาญด้านการออกแบบระบบและการพัฒ
นาเครือข่ายซึ่งต้องอาศัยระยะเวลาอีกช่วงหนึ่งที่จะพัฒนาระบบให้เหมาะสมกับการใช้งานในสถาบัน

http://www.ceted.org/course/english/WebEnglish/login.php

นวัตกรรมการบริหารจัดการ
เป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อการ
ตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก
นวัตกรรมการศึกษาที่นำมาใช้ทางด้านการบริหารจะเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการฐานข้อมูล
ในหน่วยงานสถานศึกษา เช่น ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา ฐานข้อมูล คณะอาจารย์และ
บุคลากร ในสถานศึกษา ด้านการเงิน บัญชี พัสดุ และครุภัณฑ์ ฐานข้อมูลเหล่านี้ต้องการ
ออกระบบที่สมบูรณ์มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง นอกจากนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับสารสนเทศ
ภายนอกหน่วยงาน เช่น ระเบียบปฏิบัติ กฎหมาย พระราชบัญญัติ ที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา

ซึ่งจะต้องมีการอบรม เก็บรักษาและออกแบบระบบการสืบค้นที่ดีพอซึ่งผู้บริหารสามารถสืบ
ค้นข้อมูลมาใช้งานได้ทันทีตลอดเวลาการใช้นวัตกรรมแต่ละด้านอาจมีการผสมผสานที่ซ้อน
ทับกันในบางเรื่อง ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาร่วมกันไปพร้อมๆ กันหลายด้าน การพัฒนา
ฐานข้อมูลอาจต้องทำเป็นกลุ่มเพื่อให้สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มา : http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php?module=study&chapter=4&sub1=3&sub2=1

ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา

ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับเทคโน
โลยีการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษาไว้หลายมาตรา มาตราที่สำคัญ คือ มาตรา 67
รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทยและ
ในมาตรา 22 "การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียน
รู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษา
ตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริม
ให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ"การดำเนินการปฏิรูป
การศึกษาให้สำเร็จได้ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

ดังกล่าว จำเป็นต้องทำการศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาใหม่ๆที่จะเข้ามาช่วยแก้
ไขปัญหาทางการศึกษาทั้งในรูปแบบของการศึกษาวิจัยการทดลองและการประเมินผลน
วัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่นำมาใช้ว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใดนวัตกรรมที่นำมา
ใช้ทั้งที่ผ่านมาแล้วและที่จะมีในอนาคตมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้นวัตกรรม
ในด้านต่างๆ ในที่นี้จะขอกล่าวคือ นวัตกรรม 5 ประเภท คือ
1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
2. นวัตกรรมการเรียนการสอน
3. นวัตกรรมสื่อการสอน
4. นวัตกรรมการประเมินผล
5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ
นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้อง
กับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้องการสอนบุคคลให้มากขึ้น เนื่องจาก
หลักสูตรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางด้านเทค
โนโลยีเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก นอกจากนี้การพัฒนาหลักสูตร
ยังมีความจำเป็นที่จะต้องอยู่บนฐานของแนวคิดทฤษฎีและปรัชญาทางการจัดการสัมมนา
อีกด้วย การพัฒนาหลักสูตรตามหลักการและวิธีการดังกล่าวต้องอาศัยแนวคิดและวิธีการ
ใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมการศึกษาเข้ามาช่วยเหลือจัดการให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ

นวัตกรรมทางด้านหลักสูตรในประเทศไทย ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรดังต่อไปนี้
1 หลักสูตรบูรณาการ เป็นการบูรณาการส่วนประกอบของหลักสูตรเข้าด้วยกันทางด้านวิทยา
การในสาขาต่างๆ การศึกษาทางด้านจริยธรรมและสังคม โดยมุ่งให้ผู้เรียนเป็นคนดีสามารถ
ใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ในสาขาต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมอย่างมีจริยธรรม
2 หลักสูตรรายบุคคล เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการศึกษาตามอัตภาพ เพื่อตอบ
สนองแนวความคิดในการจัดการศึกษารายบุคคล ซึ่งจะต้องออกแบบระบบเพื่อรองรับความ
ก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านต่างๆ
3 หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้น
กระบวนการในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ เช่น
กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในบทเรียน ประสบการณ์การเรียนรู้จากการสืบค้น
ด้วยตนเอง เป็นต้น
4 หลักสูตรท้องถิ่น เป็นการพัฒนาหลักสูตรที่ต้องการกระจายการบริหารจัดการออกสู่ท้องถิ่น
เพื่อให้สอดคล้องกับศิลปวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชนที่มีอยู่ในแต่ละ
ท้องถิ่น แทนที่หลักสูตรในแบบเดิมที่ใช้วิธีการรวมศูนย์การพัฒนาอยู่ในส่วนกลาง
นวัตกรรมการเรียนการสอน
เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนอง
การเรียนรายบุคคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบ
แก้ปัญหา การพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับ
สนุนการเรียนการสอน ตัวอย่างนวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่ การสอนแบบศูนย์การ
เรียน การใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ การสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน และการเรียนผ่านเครือข่าย
คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต การวิจัยในชั้นเรียน ฯลฯ

ที่มา : http://botany.sci.ku.ac.th/learn/ http://cyberclass.msu.ac.th

นวัตกรรมสื่อการสอน
เนื่องจากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยี

โทรคมนาคม ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิต
สื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย ทั้งการเรียนด้วยตนเองการเรียนเป็นกลุ่มและ
การเรียนแบบมวลชน ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรม ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ตัวอย่าง นวัตกรรมสื่อการสอน ได้แก่
- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
- มัลติมีเดีย (Multimedia)
- การประชุมทางไกล (Teleconference)
- ชุดการสอน (Instructional Module)
- วีดิทัศน์แบบมีปฎิสัมพันธ์ (Interactive Video)
การเรียนการสอนโดยใช้สื่อประสม กับผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อย

http://www.geun.net/
http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/it1.htm
http://www.thaiedunet.com/multimedia/
http://www.colorado.edu/physics/2000/applets_ST.html


นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล
เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำ
ได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา การวิจัยสถาบัน ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรม
คอมพิวเตอร์มาสนับสนุนการวัดผล ประเมินผลของสถานศึกษา ครู อาจารย์

ตัวอย่าง นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล ได้แก่
- การพัฒนาคลังข้อสอบ
- การลงทะเบียนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต
- การใช้บัตรสมาร์ทการ์ด เพื่อการใช้บริการของสถาบันศึกษา
- การใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดเกรด
- ฯลฯ















ตัวอย่างเว็บไซท์คลังข้อสอบ

ที่มา: http://www.thaigoodview.com/main/index.html

นวัตกรรมทางด้านการประเมินผลนับเป็นเรื่องที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีเหมือนบาง
สถาบันการศึกษาเท่านั้นที่สามารถให้บริการได้ เนื่องจากบางสถาบันยังไม่มีความพร้อมด้าน
อุปกรณ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ และขาดบุคลากรที่มีความชำนาญด้านการออกแบบระบบและการพัฒ
นาเครือข่ายซึ่งต้องอาศัยระยะเวลาอีกช่วงหนึ่งที่จะพัฒนาระบบให้เหมาะสมกับการใช้งานในสถาบัน

http://www.ceted.org/course/english/WebEnglish/login.php

นวัตกรรมการบริหารจัดการ
เป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อการ
ตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก
นวัตกรรมการศึกษาที่นำมาใช้ทางด้านการบริหารจะเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการฐานข้อมูล
ในหน่วยงานสถานศึกษา เช่น ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา ฐานข้อมูล คณะอาจารย์และ
บุคลากร ในสถานศึกษา ด้านการเงิน บัญชี พัสดุ และครุภัณฑ์ ฐานข้อมูลเหล่านี้ต้องการ
ออกระบบที่สมบูรณ์มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง นอกจากนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับสารสนเทศ
ภายนอกหน่วยงาน เช่น ระเบียบปฏิบัติ กฎหมาย พระราชบัญญัติ ที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา

ซึ่งจะต้องมีการอบรม เก็บรักษาและออกแบบระบบการสืบค้นที่ดีพอซึ่งผู้บริหารสามารถสืบ
ค้นข้อมูลมาใช้งานได้ทันทีตลอดเวลาการใช้นวัตกรรมแต่ละด้านอาจมีการผสมผสานที่ซ้อน
ทับกันในบางเรื่อง ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาร่วมกันไปพร้อมๆ กันหลายด้าน การพัฒนา
ฐานข้อมูลอาจต้องทำเป็นกลุ่มเพื่อให้สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มา : http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php?module=study&chapter=4&sub1=3&sub2=1