วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

การรับรู้ การเรียนรู้ และการสื่อความหมาย

การรับรู้ การเรียนรู้ และการสื่อความหมาย
การรับรู้

ผู้แต่ง / ผู้เรียบเรียง : ฟรานเชสกา เบนส์ (โชคชัย ยะชูศรี : แปล) เรารู้จักโลกรอบตัวเราได้ก็เพราะว่าร่างกายของเรามีการรับรู้ การรับรู้หลัก ๆ มี 5 ทาง คือ รู้สัมผัส รู้กลิ่น รู้รส การได้ยิน และการมองเห็นการรับรู้เหล่านี้จัดเป็นระบบรับความรู้สึกภายนอกเพราะจะบอกถึงโลกที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรายังมีระบบการรับรู้ความรู้สึกภายในด้วย ซึ่งจะช่วยบอกถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในร่างกายของเราเอง อวัยวะรับรู้ภายนอกส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณศีรษะ เช่น ตา หู จมูก และลิ้น ส่วนตัวตรวจวัดการรู้สัมผัสจะอยู่บริเวณผิวหนัง อวัยวะแต่ละส่วนเหล่านี้จะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงรอบ ๆ ตัวเราซึ่งเรียกว่า ตัวกระตุ้น ตัวกระตุ้นอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงแสง เสียง หรือรสชาติของอาหาร ตัวกระตุ้นหรือตัวเร้าทำให้ตัวตรวจวัดส่งสัญญาณต่าง ๆ ไปที่สมอง สมองจะจำแนกสัญญาณเหล่านี้ออกเป็นอะไรบางอย่างที่เรารับรู้และเข้าใจได้ เช่น ภาพ เสียง หรือรสชาติ ข้อมูลข่าวสารที่ส่งมาจากการรับรู้ต่าง ๆ เป็นสิ่งที่สำคัญเพราะจะช่วยให้เราสามารถป้องกันตัวเองและมีความสุขกับโลกของการมองเห็น การได้ยินการรับรู้รสชาติ และการได้กลิ่นที่มา : http://www.twp.co.th/shopping/preview.asp?BookCode=31051000การเรียนรู้(Learning) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปจากเดิม อันเป็นผลมาจากการได้รับประสบการณ์พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงในที่นี้มิหมายพึงเฉพาะพฤติกรรมเฉพาะทางกายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพฤติกรรมทั้งมวลที่มนุษย์แสดงออกมาได้ ซึ่งจะแยกได้เป็น 2 ด้านคือ 1. พฤติกรรมทางสมอง

2. พฤติกรรมด้านทักษะ

ที่มา : http://www.rec.mbu.ac.th/theeraphat/techno&inno/report/16/ks_g2edu.ppt#312,8,

การเรียนรู้

หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ค่อนข้างถาวร และพฤติกรรมใหม่นี้เป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกฝน มิใช่ ผลจากการตอบสนองจากธรรมชาติ สัญชาตญาณ อุบัติเหตุ หรือความบังเอิญ กระบวนการเรียนรู้ เป็นกระบวนการต่อเนื่องเชื่อมโยงจากการรับรู้ กล่าวคือ เมื่อประสาทสัมผัสกระทบสิ่งเร้าและเกิดความรู้สึกส่งไปยังสมอง สมองบันทึกความรู้สึกนั้นไว้เป็นประสบการณ์และเมื่ออวัยวะรับสัมผัสกระทบกับสิ่งเร้าเดิมอีก สามารถระลึกได้ (Recall) หรือจำได้ (Recognition) ก็ถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้นการเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการที่บุคคลเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างค่อนข้างถาวร อันเนื่องมาจากประสบการณ์หรือการฝึกหัดที่มา : http://learners.in.th/blog/rawan/110206การเรียนรู้และการสื่อความหมาย การถ่ายทอดความรู้ความคิดต่างๆแก่บุคคลหรือกลุ่มคนซึ่งมีจิตใจอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดมีความสามารถในการรับรู้หรือเรียนรู้ไม่คงที่แน่นอนในการเรียนการสอนจึงจำเป็นต้องใช้ให้สอดคล้องกับปัจจัยทางธรรมชาติของมนุษย์กล่าวโดยสรุป การเรียนรู้ เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากเดิม อันสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ของแต่ละบุคคลที่ได้รับมา โดยที่การเรียนรู้นั้นจะเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตหลักการของทฤษฎีสิ่งเร้าและการตอบสนอง

1. การเสริมแรงเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการตอบสนอง

2. การฝึกฝนได้แก่ การให้ทำแบบฝึกหัดหรือการฝึกซ้ำ

3. การรู้ผลการกระทำได้แก่ การที่สามารถให้ผู้เรียนได้รู้ผลการปฏิบัติได้ทันที

4. การสรุปเป็นกฎเกณฑ์

5. การแยกแยะได้แก่ การจัดประสบการณ์ที่ผู้เรียนสามารถแยกแยะความแตกต่างของข้อมูลได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

6. ความใกล้ชิดได้แก่ การสอนที่คำนึงถึงความใกล้ชิดระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้

1. ห้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนอย่างกระฉับกระเฉง

2. ให้ทราบผลย้อนกลับทันที

3. ให้ได้ประสบการณ์แห่งการสำเร็จ

4. การให้เรียนไปทีละน้อยตามอันดับขั้นหลักการและแนวคิดที่สำคัญของการจูงใจ

1.การจูงใจเป็นเครื่องมือสำคัญที่ผลักดันให้บุคคลปฏิบัติกระตือรือร้น

2.ความต้องการทางกาย อารมณ์และสังคม

3.การเลือกสื่อและกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน

4.การจูงใจขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพของผู้เรียน

5.ผู้สอนควรจะพิจารณาสิ่งล้อใจหรือรางวัลหลักการและแนวคิดที่สำคัญของการถ่ายโยงการเรียนรู้

1.การถ่ายโยงควรจะต้องปลูกฝังความรู้ความคิดเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ต่างๆ

2.ผู้สอนควรใช้วิธีแก้ปัญหาหรือวิธีการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและเกิดทักษะอย่างกว้างขวาง

3.การถ่ายโยงจะเกี่ยวข้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล

4.การถ่ายโยงที่อาศัยสถานการณ์ที่สัมพันธ์กันระหว่างสถานการณ์เดิมและสถานการณ์ใหม่

ที่มา : http://www.rec.mbu.ac.th/theeraphat/techno&inno/report/16/re_g2a.ppt

การสื่อสาร หรือ การสื่อความหมาย (Communication)

ความหมายโดยสรุป การสื่อสารหรือ การสื่อความหมาย เป็นการที่ผู้ส่งซึ่งเป็นบุคคลกลุ่มชน หรือสถาบัน ถ่ายทอดเรื่องราวข่าวสาร ข้อมูล ความรู้แนวความคิด เหตุการณ์ต่าง ๆ ฯลฯ โดยอาศัยสื่อหรือช่องทางในการถ่ายทอดไปยังผู้รับซึ่งเป็นบุคคล กลุ่มชน หรือสถาบัน เพื่อให้ผู้รับได้รับทราบข่าวสารร่วมกัน 1. ผู้ส่ง ผู้สื่อสาร หรือต้นแหล่งของการส่ง (Sender, Communicatior or Source)เป็นแหลหรือผู้ที่นำข่าวสารเรื่องราว แนวความคิด ความรู้ ตลอดจนเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อส่งไปยังผู้รับซึ่งอาจเป็นบุคคลหรือกลุ่มชนก็ได้ ผู้ส่งนี้จะเป็นบุคคลเพียงคนเดียวกลุ่มบุคคลหรือสถาบัน โดยอยู่ในลักษณะต่าง ๆ ได้หลายอย่าง2. เนื้อหาเรื่องราว (Message) ได้แก่ เนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ส่งออกมา เช่น ความรู้ความคิด ข่าวสาร บทเพลง ข้อเขียน ภาพ ฯลฯเพื่อให้ผู้รับรับข้อมูลเหล่านี้3. สื่อหรือช่องทางในการนำสาร (Media or Channel) หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดแนวความคิดเหตุการณ์ เรื่อราวต่าง ๆ ที่ผู้ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ4. ผู้รับหรือกลุ่มเป้าหมาย (Receiver or Target Audience) ได้แก่ ผู้รับเนื้อหาเรื่องราวจากแหล่งหรือที่ผู้ส่งส่งมาผู้รับนี้อาจเป็นบุคคล กลุ่มชน หรือสถาบันก็ได้5. ผล (Effect) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ส่งส่งเรื่องราวไปยังผู้รับ ผลที่เกิดขึ้นคือการที่ผู้รับอาจมีความเข้าใจหรือไม่รู้เรื่อง ยอมรับหรือปฏิเสธ พอใจหรือโกรธ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นผลของการสื่อสาร และจะเป็นผลสืบเนื่องต่อไปว่าการสื่อสารนั้นจะสามารถบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับทัศนคติของผู้รับ สื่อที่ใช้ และสถานการณ์ในการสื่อสารเป็นสำคัญด้วย6. ปฏิกริยาสนองกลับ (Feedback) เป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องจากผลซึ่งผู้รับส่งกลับมายังผู้ส่งโดยผู้รับอาจแสดงอาการให้เห็น เช่น ง่วงนอน ปรบมือ ยิ้ม พยักหน้า การพูดโต้ตอบหรือการแสดงความคิดเห็น เพื่อเป็นข้อมูลที่ทำให้ผู้ส่งทราบว่า ผู้รับมีความพอใจหรือมีความเข้าใจในความหมายที่ส่งไปหรือไม่ปฏิกริยาสนองกลับนี้คือข้อมูลย้อนกลับอันเกิดจากการตอบสนองของผู้รับที่ส่งกลับไปยังผู้ส่งนั่นเองรูปแบบของการสื่อสาร ที่มา : http://vdo.kku.ac.th/mediacenter/mediacenter-uploads/libs

ไม่มีความคิดเห็น: