วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

สรุปการบรรยายพิเศษ เรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง"

สรุปปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
แนวคิดหลักเป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชน
ในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา
และบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ
เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์
เป้าหมาย
มุ่งให้เกิดความสมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและ
กว้างขวาง ทั้งทางวัตถุ สังคมและสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอก
ได้เป็นอย่างดี
หลักการ
ความพอเพียง หมายถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่
ดีในตัวพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภาย
นอกและภายใน
เงื่อนไขพื้นฐาน (ความรู้คู่คุณธรรม)
1.จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการ
นำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน
2. การเสริมสร้างจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี
และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้
มีความรอบรู้ที่เหมาะสม

สรุปการบรรยายพิเศษ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง”
เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา (ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล) ได้ให้เกียรติมาบรรยาย
พิเศษเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” ให้สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสัง
คมแห่งชาติรับฟัง ดังนี้ ประเด็นเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมีฐานแนวคิดที่สะ
ท้อนมาจากผลการพัฒนาของประเทศไทยตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันและสถาน
การณ์โลกที่มีการเปลี่ยนแปลงมากในระยะเวลาอันรวดเร็ว อาจกล่าว
ได้ว่าเวลานี้ระบบเศรษฐกิจโลกเหลือเพียงขั้วเดียวคือขั้วเสรีนิยมหรือทุนนิยม
หรือบริโภคนิยม ซึ่งในโลกทุนนิยมนี้ประเทศต่างๆ มุ่งแสวงหาความเจริญเติบ
โตทางด้านเศรษฐกิจเป็นที่ตั้ง และลักษณะสำคัญคือ แสวงหาความร่ำรวยจาก
การลงทุน การบริโภคถือเป็นทฤษฎีหลักของระบบทุนนิยม ถ้าปราศจากจุดนี้
แล้วถือว่าเจริญไม่ได้ เพราะฉะนั้น จึงเกิดภาวะของการแข่งขันกันอย่างรุนแรง
และมีการกระตุ้นให้เกิดการบริโภคอยู่ตลอดเวลา โดยการกระตุ้นกิเลส ทำให้เกิด
การอยาก ซึ่งจะทำให้ระบบนี้อยู่ได้อย่างไรก็ตามสินค้าที่นำมาบริโภคทุกอย่าง
ต้องผลิตมาจากวัตถุดิบที่มาจากทรัพยากรธรรมชาติที่นำมาแปรรูปเพื่อให้ใช้งานได้
ขณะเดียวกันเมื่อมีการบริโภคก็ก่อให้เกิดของเสียออกมาในปริมาณเกือบจะ
เท่ากัน ฉะนั้นโลกจะต้องรับภาระอย่างมาก คือจะต้องป้อนวัตถุดิบเพื่อการบริโภค
และหลังจากนั้นต้องแบกรับภาระขยะของเสียที่มาจากการบริโภค โดยที่การจัดการ
เรื่องกำจัดขยะเสียยังทำได้น้อยมาก การนำกลับมาใช้ใหม่มีแค่ 19 % ยิ่งเวลานี้มี
การอำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภคจะเห็นว่าสินค้าประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งมีจำ
นวนมาก ปัญหาคือทรัพยากรธรรมชาติจะแบกรับไหวหรือไม่ คำตอบก็คือไม่ไหว
เพราะเวลานี้ทั่วโลกมีการบริโภคในอัตรา 3 : 1 คือทรัพยากรธรรมชาติถูกบริโภค
ไป 3 ส่วน แต่สามารถชดเชยกลับมาได้เพียง 1 ส่วน ซึ่งถ้ายังคงมีการบริโภคกัน
ในอัตรานี้ต่อไปก็จะต้องพบกับปัญหาในที่สุด อย่างไรก็ตามได้เริ่มมีกระแสของกลุ่ม
คนที่มีปัญญาเกิดขึ้น เพราะเริ่มมองเห็นถึงภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อสภาวะโลกปัจ
จุบันในประเทศไทยตั้งแต่มีแผนพัฒนาฉบับแรก ใน ปี 2505 ประเทศไทยได้มี
การพัฒนาตามรูปแบบของทุนนิยมเช่น กันเพราะในตอนที่คิดจะทำแผนพัฒนาฯ
ได้มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศเข้ามาสอน วิชาการวางแผนให้ โดยมีการนำ
เอาปรัชญาการวางแผนแบบตะวันตกเข้ามาด้วยคือมุ่งสร้างความร่ำรวยทางด้าน
เศรษฐกิจอย่างเดียว ซึ่งประเทศไทยก็ได้มีการพัฒนาให้เจริญเติบโตขึ้นจริง แต่เป็น
ความเจริญเติบโตที่สร้างและแลกกับการต้องสูญเสียป่าไม้ และทรัพยากรธรรมชาติที่
ถูกทำลายล้างไปเป็นจำนวนมากจะเห็นว่าความเจริญเติบโต ซึ่งได้ดำเนินมา ตั้งแต่ปี
2505 บัดนี้ มีเหตุการณ์หนึ่งที่ก่อให้เกิดวิกฤตต่อเศรษฐกิจของประเทศ คือโตแล้ว
แตกเป็นสัจธรรม อย่างหนึ่งคือ เมื่อเศรษฐกิจโตมากขึ้น ในที่สุดก็จะแตกออก และก็
จะมาเริ่มต้นกันใหม่ อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการมองหาว่าอะไรคือสาเหตุของวิกฤต
การณ์ฟองสบู่แตกครั้งนั้นจะพบว่าเป็นเพราะการเติบโตของไทยอยู่บนฐานที่ยังไม่
มีความพร้อม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
ว่าการพัฒนา บ้านเมืองเหมือนการสร้างบ้านเวลาที่มีการสร้างบ้านสิ่งแรกที่ต้อง
ทำคือ ต้องวางฐานรากฝังเสาเข็ม และเสาเข็มแต่ละต้นจะถูกคำนวณมาแล้ว
ว่าต้อง แบกน้ำหนักเท่าใดแล้วจึงสร้างบ้าน แน่นอนว่าถ้าเสาเข็มวางไว้สำหรับ
บ้านสองชั้นก็จะแบกรับได้แค่บ้านสองชั้นเท่านั้น การพัฒนาประเทศก็เช่นกันแต่
ที่ผ่านมาประเทศไทยเหมือนการย่างก้าวเข้าสู่การพัฒนาโดยที่ไม่ได้คำนึงถึง
ฐานรากของประเทศ ซึ่งน่าจะมีฐานในภาคการเกษตรแต่กลับมุ่งไปสู่การเป็น
ประเทศอุตสาหกรรมที่มีความต้องการปัจจัยสำคัญ 3 เรื่อง คือ 1) เงิน ซึ่ง
ประเทศไทยอาจมีไม่พอก็ไปกู้มาเพิ่ม 2) เทคโนโลยี ซึ่งประเทศไทยไม่เคย
สร้างอะไรขึ้นมาเองก็จะนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมาใช้ และ 3) คน
ซึ่งมาตรฐานการศึกษาของไทยต่ำลง มหาวิทยาลัยมากขึ้นแต่คุณภาพลดลง
แต่ถ้าคนที่รู้ด้านการในประเทศไม่มีก็ไม่เป็นไรอีกก็จ้างต่างชาติเข้ามา จะเห็น
ว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยตั้งอยู่บนฐานของคนอื่นทั้งสิ้น
และเมื่อมีการก็ย้ายฐานการลงทุนออกไปเศรษฐกิจก็ล้มในที่สุด สถานการณ์
นี้เป็นวัฏจักรของการพัฒนาเหมือนกับวัฏจักรเชิงพุทธคือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงยึดหลักการพอดีตั้งแต่แรกโดยให้มีการ
พัฒนาไปตามขั้นตอน เป็นระยะ ๆ เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เศรษฐกิจสำหรับ
คนยากคนจน ไม่ใช่เศรษฐกิจที่จะต้องมาห่อตัว พระองค์ท่านให้ร่ำรวยแต่ร่ำ
รวยแล้วต้องรักษาให้คงอยู่ ร่ำรวยและต้องยั่งยืน และต้องกระจายอย่างทั่ว
ถึงพระองค์ท่านรับสั่งให้คำไว้สามคำเป็นหลักสามประการ และฐานใหญ่ไว้
หนึ่งฐาน เป็นแนวทางของการพัฒนาประเทศ และจะนำไปใช้ในการบริหาร
งานในองค์กรใดๆ ก็ได้ ดังนี้ ประการที่หนึ่ง ให้ใช้เหตุผลอย่าใช้กิเลสตัณ
หาเป็นเครื่องนำทาง อย่าเอาแต่กระแส ต้องมีความกล้าหาญเพียงพอที่จะ
เลือกหนทางว่าประเทศไทยต้องการจะพัฒนา ไปทางไหนไม่จำเป็นต้อง
ตามกระแสของโลก ประการที่สอง ทำอะไรพอประมาณ การพอประมาณ
คือตรวจสอบศักยภาพของตน เองก่อน ฐานของตนเองอยู่ตรงไหน การจะ
พัฒนาอะไรต้องดูจากศักยภาพที่มีความ เข้มแข็งก่อน ประการที่สาม ทำ
อะไรให้มีภูมิคุ้มกันตลอดเวลา เพราะไม่รู้พรุ่งนี้จะมีอะไรเกิดขึ้น ปัจจุบัน
สถานการณ์ต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้การวางแผนพัฒนา
ทำได้ยากมีปัจจัยความเสี่ยงอยู่ตลอดเวลา จึงต้องมีวิสัยทัศน์ ตัวอย่างเช่น
เรื่องราคา น้ำมันต้องมองในอนาคต ถ้านำไบโอดีเซลมาใช้จะช่วยลดความ
เสี่ยงด้านราคาน้ำมัน ได้หรือไม่ เป็นต้น
นอกจากสามคำนี้พระองค์ท่านทรงให้มีฐานรองรับที่สำคัญอีกคำหนึ่งคือ
คนต้องดีด้วย ต้องมีจริยธรรมและคุณธรรม มีธรรมาภิบาล พระองค์ท่านทรงวาง
หลักการไว้ดีมาก แต่ปัญหาเกิดจากยังไม่มีความพยายามที่จะสร้างความเข้าใจกัน
สุดท้าย คงต้องอันเชิญเป้าหมายในการครองแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยู่หัว เมื่อ 60 ปีที่แล้ว ว่าเป้าหมายในการครองแผ่นดินของพระองค์ท่าน คือ
เพื่อประโยชน์ สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ซึ่งคนไทยทุกคนควรยึดคำนี้เป็นที่มั่น
ประโยชน์สุขที่ว่านั้น คือ ไม่ว่าจะมีการสร้างความร่ำรวยหรือการสร้างประโยชน์ใด
ต้องให้นำไปสู่ “ความสุข” ของประชาชนทั้งประเทศเป็นเป้าหมายหลัก
ที่มา : สรุปการบรรยายพิเศษ เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง”
โดย เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา (ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล)
วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน 2549 เวลา 13.30 น.
ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ไม่มีความคิดเห็น: