วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

การใช้นวัตกรรมการศึกษาด้านต่างๆในประเทศไทย

การใช้นวัตกรรมการศึกษาด้านต่างๆ ในประเทศไทยวิธีระบบ (system approach) สามารถนำมาใช้กับการพัฒนาการเรียนการสอน ซึ่งถือได้ว่า
เป็นการวางแผนการศึกษาอย่างมีระบบ ควรนำวิธีระบบมาใช้เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองให้มาก
โดยจะต้องมีการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอน มีการเรียนแบบระบบเปิดคือเรียนด้วยตนเอง

(self-learning) การเรียนแบบอิสระ (independent learning) โดยทางโรงเรียนมีศูนย์การเรียน
ที่มีสื่อเพียบพร้อมในการเรียน ซึ่ง ณ ที่นั่นมีสื่อการเรียนหลาย ๆ อย่างพร้อมมูล ให้นักเรียน
มาหาความรู้จากศูนย์นี้ได้ดีเท่า ๆ กับไปที่โรงเรียน อาจมีการจัดศูนย์สื่อในหอพักนักเรียน
มุมใดมุมหนึ่งของห้องสมุด หรือมุมของห้องเรียนมุมหนึ่ง
ศูนย์การเรียน (Learning Center) ศูนย์การเรียน Learning Center เป็นระบบของ
การจัดการด้านสถานที่ เครื่องมือและสื่อต่างๆ ที่ได้รับการติดตั้งอย่างเป็นระบบเพื่อการเรียนรู้ ในศูนย์การเรียนควรมีเครื่องมือช่วยการเรียนรู้ทั้งหลายของผู้เรียน ผู้เรียนสามารถยืมสื่อการ
ศึกษาไปเรียนที่บ้าน เช่นเดียวกับการยืมหนังสือ สำหรับพ่อแม่ที่มีความพร้อมในการจัดหาฮาร์ดแวร์
ไว้ใช้ที่บ้านได้ก็ยืมซอฟท์แวร์จากโรงเรียนมาศึกษาเองที่บ้าน คนในบ้านก็มาเรียนรู้ร่วมกันได้ ภายในศูนย์การเรียนอาจมีเครื่องบางอย่างให้ผู้เรียนศึกษาได้ เช่น เครื่องอ่านวัสดุย่อส่วนแบบ
กระเป๋าหิ้ว (Portable Microform Reader) คอมพิวเตอร์ ที่สามารถสืบค้นข้อมูลได้ มีบทเรียน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ไว้สำหรับให้ใช้ศึกษาด้วยตนเอง พร้อมทั้งเครื่องมือโสตทัศนูกรณ์
พวกเครื่องเสียง เครื่องฉายสไลด์แบบมีจอในตัว ซึ่งสามารถใช้ศึกษาสไลด์ประกอบเสียง ฯลฯ

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ คือ คอมพิวเตอร์ที่ช่วยการเรียนขนาดเล็กที่เรียกว่า พ๊อกเก็ตพีซี
(Pocket PC) มีโปรแกรมการเรียนที่ผลิตเป็นแผ่นบันทึกข้อมูลซึ่งทำด้วยแม่เหล็ก (Magnetic
cards) แผ่นเล็ก ๆใส่เข้าไปในช่องได้ง่าย ๆ เด็กก็สามารถเล่นเองได้ และยังสามารถต่อเข้าเครือ
ข่ายอินเทอร์เน็ตได้
การพัฒนาเครือข่ายเพื่อใช้ในศูนย์การเรียน จะมีการใช้โปรแกรมช่วยบริหารจัดการศูนย์ ที่เป็น
ทรัพยากรการเรียน Learning Resources Center ซึ่งประกอบไปด้วยห้องสมุดเสมือน Virtual
Library ที่สามารถเก็บข้อมูลที่เป็นสื่อดิจิตอลมัลติมีเดียทุกประเภท เช่น ไฟล์วิดิโอ ไฟล์เสียง
ไฟล์เอกสาร หรือ กราฟิกประเภทต่างๆ ไว้ในเครื่องแม่ข่าย (File Server) ซึ่งผู้เรียนที่อยู่ใน
หรือนอกศูนย์การเรียนสามารถเข้ามาใช้ Resources ที่มีอยู่ในเครื่องแม่ข่ายได้
ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกกับผู้เรียนไม่ต้องเดินทางไปค้นหาสื่อในที่ต่างๆ ด้วยตนเอง
การจัดศูนย์การเรียนในห้องสมุด ให้ผู้เรียนมาศึกษาบทเรียนจากสื่อต่าง ๆด้วยตนเอง การเปลี่ยนบทบาทของครู ปัจจุบันครูควรลดบทบาทให้เหลือน้อยที่สุด จากการสอนแบบ
บอกให้จด หรือบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เรียน เป็นผู้อำนวยการเรียน (facilitator) เป็นการให้นัก
เรียนเป็นผู้มีบทบาทในการเรียนให้มากที่สุด โดยครูเป็นผู้วางแผนการสอนออกมาเป็นกิจกรรม
การเรียน ให้นักเรียนเรียนเป็นกลุ่ม หรือเรียนด้วยตนเอง การพัฒนาการเรียนการสอนควรยึด
หลักต่อไปนี้คือ
1 ใช้สื่อการสอนอย่างมีระบบ
2 ทำการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเป็นครั้งคราวแก่อาจารย์เพื่อให้มีการพัฒนาตนเอง
3 การเรียนโดยใช้สื่อกับกลุ่มใหญ่ กลุ่มเล็ก หรือเรียนแบบตัวต่อตัว โดยใช้ทีวี วิทยุเทป
คาสเซ็ทท์ หรืออาจใช้วิธีการอื่นๆ
4 มีชุดสื่อช่วยสอนเสริม เป็นบทเรียนด้วยตนเอง เช่นการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
5 การเชิญผู้ชำนาญการประจำท้องถิ่นสาขาต่างๆ มาเป็นวิทยากร หรือให้วิทยากรร่วมเป็น
สมาชิกของคณะครูผู้สอนเรียกว่า การสอนเป็นคณะ
6 เมื่อครูเปลี่ยนบทบาท ครูต้องรู้จักใช้สื่อที่เหมาะสมในการเรียนการสอนด้วย
7 จัดกิจกรรมการเรียนให้เข้ากับหลักสูตร มีห้องเรียนอเนกประสงค์คือห้องเรียนที่ใช้
ได้ทั้งนักเรียนกลุ่มใหญ่และกลุ่มเล็ก หรือใช้เป็นที่เรียนแบบอิสระ ที่โรงเรียนของรัฐ
ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย เมืองซานดิเอโก มีห้องเรียนแบบนี้ ซึ่งใช้ประโยชน์ต่อการศึกษา
เป็นอย่างมาก
สื่อช่วยสอนที่ทันสมัย 1 การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ทั้งในระบบโรงเรียนและนอกโรงเรียน และการศึก
ษาตามอัธยาศัย ตัวอย่างที่ใช้การเรียนการสอนแบบนี้คือ โครงการการศึกษาทางไกลผ่าน
ดาวเทียมไทยคม โรงเรียนไกลกังวล (Distance Education Through Satellite)
ครูกำลังสอนผ่านกล้องในระบบการประชุมทางไกลด้วยภาพ ( Video Conference)
ที่สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
http://www.dltv.th.org
2 เคเบิลทีวีใช้สอนสำหรับการศึกษาทั้งในและนอกระบบโรงเรียน ซึ่งให้ความรู้เรื่อง
ต่างๆ เช่น การสังคมสงเคราะห์ เรื่องข่าวสารการเมืองปัจจุบัน เรื่องความปลอดภัยในครัวเรือน
หรือในที่สาธารณะ สอนเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ กฎหมาย การกินดีอยู่ดี ปัญหาของผู้บริโภค
การจัดโปรแกรมให้เด็กฉลาดและเด็กที่เรียนไม่ทันชั้นเรียน ได้เรียนเสริมด้วยตนเองที่บ้าน
3 วิดีโอดิสก์ Video Disc (Video Disc) เป็นสื่อที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เนื่องจากมีขนาดเล็ก
เก็บรักษาง่ายและให้คุณภาพดี ปัจจุบันมีการผลิต วิดีโอคอมแพคดิสก์- Video Compact Disc
(VCD) ความรู้ต่างๆ ออกมาจำหน่ายอย่างมาก เช่นเรื่องเกี่ยวกับนิทาน ความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์
ประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา ฯลฯ วิดีโอดิสก์นี้มีน้ำหนักเบา ขนย้ายง่าย นิยมใช้กันมาก ในอนาคต
วิดีโอคอมแพคดิสก์ จะเปลี่ยนรูปแบบเป็นแผ่น ดีวีดี Digital Video Disk (DVD) ซึ่งเป็นแผ่น
ขนาดเท่า วิดีโอคอมแพคดิสก์ แต่สามารถบรรจุข้อมูลได้เพิ่มขึ้นเป็นสิบเท่าของแผ่นซีดีวิดีโอในปัจจุบัน
แผ่น VCD เรื่องต่าง ๆ ที่ใช้ในการเรียนการสอน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์
ช่วยสอนมาจากคำว่า Computer-Assisted Instruction (CAI)

ได้มีผู้ให้ความหมายไว้หลายท่านดังนี้ Association for Education Communications and Technology (1994 : 324) ให้ความ
หมายของคำว่า Computer-Assisted Instruction ไว้ดังนี้
1 เทคนิคการเรียนรู้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์
เพื่อการเรียนรู้และจดจำ
2 เทคนิคการเรียนรู้กับคอมพิวเตอร์จะต้องมีการสอนผู้เรียนอย่างจริงจัง และคอมพิวเตอร์
จะต้องมีการบรรจุโปรแกรมช่วยสอน คำแนะนำ การควบคุมและทดสอบผู้เรียนจนกระทั่งได้อยู่
ในระดับที่น่าพอใจ
นักเรียนกำลังใช้ CAI ในห้องเรียน
Stolurow (1971) ได้กล่าวถึงคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสรุปได้ว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เป็นวิธีการของการสอนรายบุคคล โดยอาศัยความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะจัด
เนื้อหาประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์กัน มีการแสดงเนื้อหาตามลำดับที่แตกต่างกันด้วย
บทเรียนโปรแกรมที่เตรียมไว้อย่างเหมาะสม
ยืน ภู่วรวรรณ (2532) ให้ความหมายว่า "คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือโปรแกรมคอม
พิวเตอร์ที่ได้นำเนื้อหาวิชาและลำดับวิธีการสอนมาบันทึกเก็บไว้ คอมพิวเตอร์จะช่วยนำ
บทเรียนที่เตรียมไว้อย่างเป็นระบบมาเสนอในรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนแต่ละคน"
ขนิษฐา ชานนท์ (2532) ให้ความหมายว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง การนำคอม
พิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอน โดยที่เนื้อหาวิชา แบบฝึกหัดและการทดสอบ
จะถูกพัฒนาขึ้นในรูปแบบของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งมักเรียกว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์

Computer Courseware ผู้เรียนจะเรียนบทเรียนจากคอมพิวเตอร์ โดยคอมพิวเตอร์จะสามารถเสนอ
เนื้อหาวิชาซึ่งอาจจะเป็นทั้งในรูปตัวหนังสือและภาพกราฟิกสามารถถามคำถาม
รับคำตอบจากผู้เรียน ตรวจคำตอบ และแสดงผลการเรียนในรูปของข้อมูลย้อนกลับ
(feedback) ให้แก่ผู้เรียน
จากความหมายดังกล่าวอาจสรุปได้ว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นเครื่องมือช่วยครูในการเรียน
การสอน โดยบรรจุเนื้อหาที่จะสอนไว้ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียน
ได้ด้วยตนเอง และมีเทคนิคการสอนที่อยู่บนพื้นฐานของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและ
เครื่องคอมพิวเตอร์
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วารินทร์ รัศมีพรหม (2531 : 192-193) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
พอสรุปได้ดังนี้
1 ผู้เรียนเรียนได้ตามความช้าเร็วของตนเอง ทำให้สามารถควบคุมอัตราเร่งของ
การเรียนได้ด้วยตนเอง
2 การตอบสนองที่รวดเร็วของคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงที่รวดเร็วด้วย
3 อาจจัดทำโปรแกรมให้มีบรรยากาศที่น่าชื่นชม ซึ่งเหมาะสำหรับผู้เรียนที่เรียนช้าได้
4 สามารถเอาเสียงดนตรี สีสัน ภาพเคลื่อนไหว ซึ่งทำให้ดูเหมือนของจริงและยังเร้า
ใจขณะฝึกปฏิบัติ (drill) หรือสถานการณ์จำลองได้เป็นอย่างดี
5 ผู้สอนสามารถควบคุมการเรียนของผู้เรียนได้เพราะคอมพิวเตอร์จะบันทึกการเรียน
ของผู้เรียนแต่ละบุคคลไว้
6 ผู้สอนสามารถควบคุมการเรียนของผู้เรียนได้ เพราะคอมพิวเตอร์จะบันทึกการ
เรียนของผู้เรียน แต่ละบุคคลได้
7 ความใหม่แปลกของคอมพิวเตอร์ จะเพิ่มความสนใจ ความตั้งใจของผู้เรียนมากขึ้น
8 คอมพิวเตอร์ให้การสอนที่เชื่อถือได้แก่ผู้เรียน
9 จะช่วยลดเวลาของครู และลดค่าใช้จ่ายลง และสามารถทำให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประ
สงค์ได้โดยง่าย
ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ช่วยการสอนที่ใช้ในวงการศึกษานั้นมีหลายรูปแบบด้วยกัน รูปแบบ
หลักที่พบเห็นเสมอ ๆ แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภทดังนี้
1 DRILL AND PRACTICE

คอมพิวเตอร์ช่วยการสอนในลักษณะนี้จะเป็นแบบที่พบเห็นมากที่สุดเป็นการช่วย
ให้ผู้เรียนได้ ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนมาแล้ว เพื่อช่วยในการจำเนื้อหาหรือเป็นการฝึกทักษะ
ในสิ่งที่ได้เรียนในห้องเรียน วัตถุประสงค์หลักของ DRILL AND PRACTICE ก็เพื่อ
เสริมแรงในสิ่งที่ได้เรียนแล้ว โดยคอมพิวเตอร์จะเสนอสิ่งเร้าซึ่งอาจจะเป็นในรูปของ
คำถาม ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตอบสนองหรือตอบคำถาม ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตอบสนอง
หรือตอบคำถาม และสามารถให้การเสริมแรง หรือให้ FEEDBACK แก่ผู้เรียนได้ทันที
2 TUTORIALS
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในลักษณะนี้เป็นการสอนสิ่งใหม่ซึ่งผู้เรียนไม่คุ้นเคยมาก่อน
บทเรียนในลักษณะนี้จะเสนอเนื้อหาวิชา ถามคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่เพิ่งเสนอไป
และจากคำตอบของผู้เรียนคอมพิวเตอร์ก็จะ ตัดสินใจว่าผู้เรียนควรจะเรียนเนื้อหาต่อไป
หรือควรจะได้มีการทบทวนเนื้อหาที่เพิ่งเรียนนั้น หรือมีการซ่อมเสริมอย่างไร

ลักษณะ TUTORIAL ที่ดีควรจะเป็นดังนี้ - เนื้อหาหรือมโนทัศน์ที่เสนอควรจะจัดอย่างเป็นระบบระเบียบเพื่อไม่ให้ผู้เรียน
เกิดความสับสน
- กราฟิกและเสียงประกอบสอดคล้องกับเนื้อหาวิชา
- ผู้เรียนสามารถควบคุมจังหวะความเร็วในการเสนอเนื้อหา
- ควรจะมีวิธีในการที่จะบันทึกคะแนนของผู้เรียนไว้เพื่อผู้สอนจะ
ได้สามารถนำมาตรวจสอบความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน และผู้เรียนทั้งชั้นได้
3 INSTRUCTIONAL GAMES
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในลักษณะนี้เป็นการสอนเนื้อหาวิชาในรูปแบบของเกมส์
โดยทั่วไปลักษณะของเกมส์จะมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนเป็นการแข่งขัน เมื่อจบเกมส์แล้วก็
จะมีผู้ชนะและผู้แพ้ เกมส์การสอนมักจะออกแบบเพื่อให้ทั้งความรู้และความบันเทิงแก่ผู้เรียน
เนื่องจากคอมพิวเตอร์สามารถเสนอภาพกราฟิกที่มีสีสวยงามและมีเสียงประกอบได้
จึงทำให้สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
4 SIMULATIONS

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในรูปแบบของ simulations เป็นการจำลองสถานการณ์จริงโดย
คอมพิวเตอร์จะเสนอสถามการณ์ให้แก่ผู้เรียน ให้โอกาสผู้เรียนได้วิเคราะห์ และตัดสิน
ใจจากข้อมูลที่จัดให้เพื่อที่จะทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เนื่องจาก การจำลองสถานะการณ
์มีลักษณะที่ค่อนข้างซับซ้อน ผู้สร้างบทเรียนในลักษณะนี้จะต้องอาคัยการคาดคะเนใน
เรื่องการตอบสนองในรูปแบบต่างๆ จากผู้ใช้บทเรียนและผลที่จะเกิดจากการตอบสนอง
เพื่อนำมาพิจารณาในการสร้างรูปแบบ ดังนั้นจึงต้องใช้เวลามากในการสร้าง และผู้สร้างบทเรียนในลักษณะนี้จะต้องมีทักษะระดับสูงในเรื่องการเขียนโปรแกรม
เพื่อสร้างบทเรียนในลักษณะนี้ SIMULATION แต่ PROBLEM SOLVING
จะเน้นขบวนการคิดในระดับที่สูงกว่าในเรื่องของขบวนการในด้านการใช้เหตุผล
5 PROBLEM SOLVING
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในลักษณะนี้ เป็นการเสนอปัญหาให้แก่ผู้เรียน และผู้เรียนจะต้อง
พยายามที่จะหาวิธีแก้ปัญหานั้น ๆ ลักษณะบทเรียนแบบนี้จะคล้าย ๆ กับ SIMULATIONS
แต่ PROBLEM SOLVING จะเน้นขบวนการคิดในระดับที่สูงกว่าในเรื่องของขบวนการ
ในด้านการใช้เหตุผล

ที่มา : http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php?module=study&chapter=4&sub1=3&sub2=1

ไม่มีความคิดเห็น: